ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

ทฤษฎีระบบโลก (ด้านการย้ายถิ่น)

world system theory (of migration)

ทฤษฎีที่เสนอความคิดเกี่ยวกับโครงสร้างโอกาสในการย้ายถิ่นระหว่างประเทศของโลกปัจจุบัน โดยชี้ให้เห็นว่าตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงยุคปฏิวัติอุตสากกรรมของยุโรป ตลาดโลกได้พัฒนาและขยายตัวไปสู่การแบ่งกลุ่มประเทศเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือกลุ่มประเทศแกนกลางในยุโรป ซึ่งมีทุนและความร่ำรวยทางวัตถุในรูปแบบต่างๆ และกลุ่มประเทศรอบนอก ซึ่งได้แก่ประเทศที่เหลือทั้งหมด ประเทศรอบนอกเหล่านี้ต้องพึ่งพิงประเทศแกนกลาง ในขณะที่ประเทศแกนกลางต้องการดินแดน วัตถุดิบ และตลาดผู้บริโภคใหม่ๆจากประเทศรอบนอก

ตามทฤษฎีนี้การย้ายถิ่นระหว่างประเทศเป็นผลของการที่ประเทศรอบนอกสูญเสียสถานภาพการพึ่งพาตนเอง ทำให้การพัฒนาหยุดชะงัก กล่าวคือเมื่อระบบทุนนิยมได้ขยายวงกว้างออกไปจากประเทศแกนกลางในยุโรปตะวันตก อเมริกาเหนือ โอเชียเนีย และญี่ปุ่น ไปยังส่วนอื่นๆของโลก ทำให้ประชากรของประเทศรอบนอกถูกผนวกรวมเข้าสู่เศรษฐกิจตลาดโลก ในขณะที่ที่ดิน วัตถุดิบ และแรงงานในประเทศเหล่านั้นก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลและการครอบงำของตลาดโลก ส่งผลให้กระแสการย้ายถิ่นระหว่างประเทศเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ดี ตามทฤษฎีนี้ กระแสการย้ายถิ่นไม่ได้เกิดขึ้นอย่างไร้ทิศทาง เนื่องจากประเทศรอบนอกมีแนวโน้มที่จะส่งผู้ย้ายถิ่นไปยังประเทศแกนกลางที่ตนมีความสัมพันธ์ ใกล้ชิดในเชิงเศรษฐกิจ การเมือง หรือการทหารอยู่แล้ว

พจนานุกรมศัพท์ประชากรศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015